เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [17.ขุททกวัตถุวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
อัคคิ1 3 เป็นไฉน
อัคคิ 3 คือ
1. อัคคิคือราคะ (ไฟคือราคะ)
2. อัคคิคือโทสะ (ไฟคือโทสะ)
3. อัคคิคือโมหะ (ไฟคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าอัคคิ 3 (21)
กสาวะ 3 เป็นไฉน
กสาวะ 3 คือ
1. กสาวะคือราคะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือราคะ)
2. กสาวะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโทสะ)
3. กสาวะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ 3 (22)
กสาวะ 3 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
กสาวะ 3 คือ
1. กสาวะทางกาย 2. กสาวะทางวาจา
3. กสาวะทางใจ
เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ 3 (23)
[925] อัสสาททิฏฐิ2 เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีความเห็น
อย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ จึงบริโภคกาม นี้เรียกว่า อัสสาททิฏฐิ
อัตตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ

เชิงอรรถ :
1 แปลว่า ไฟ ท่านเปรียบกิเลสเหมือนไฟ (อภิ.วิ.อ. 924/539)
2 ความเห็นผิดที่สัมปยุตด้วยความยินดี (อภิ.วิ.อ. 925/540)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :579 }